ระบบการศึกษาปฐมวัยญี่ปุ่น
ภาพรวม การเรียนการสอนเด็กปฐมวัยญี่ปุ่น (วัย 57วัน – 5 ปี) ใช้คำว่า “Hoiku” คำนี้หมายถึง การสอนและการดูแลเด็ก ซึ่งเป็นคำที่ใช้เฉพาะเด็กในช่วงวัยนี้ เอกสารประกอบการอบรมเล่มนี้ ได้ใช้คำว่า การสอนและการดูแลเด็ก ตามแบบภาษาญี่ปุ่น แทนคำว่า การเรียนการสอนเด็ก สถานที่รับเลี้ยงเด็กสำหรับการศึกษาปฐมวัยญี่ปุ่นมี 2 แบบ คือ อนุบาล (Youchi-en) และ ศูนย์เด็ก (Hoiku-sho) มีทั้งรัฐบาลและเอกชน การจ่ายค่าเทอมของเด็ก ส่วนหนึ่งรัฐบาลสนับสนุน อีกส่วนหนึ่งผู้ปกครองจ่าย (จ่ายไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับรายได้ของครอบครัว) นี่คือวิธีการสนับสนุนที่สร้างโอกาสให้เด็กปฐมวัยของญี่ปุ่น ทำให้เด็กญี่ปุ่น เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการในช่วงวัยที่สำคัญ
ตารางการเปรียบเทียบศูนย์เด็กและอนุบาล
แนวคิดการพัฒนาเด็ก ใน 5 ด้าน ด้านสุขภาพ สร้างจิตใจและร่างกายให้มีสุขภาพดี เพื่อที่จะได้มีทักษะในการสร้างชีวิตที่สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัย ด้านการสร้างความสัมพันธ์ การออกแบบการเล่นที่สร้างสรรค์ เช่น คละอายุ เพศ จะสอนทักษะการรับผิดชอบต่อตัวเอง การอยู่ร่วมกัน และดำเนินชีวิตร่วมกันได้ ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างทักษะในการทำกิจกรรมด้วยความรู้สึกที่อยากรู้อยากเห็น อยากค้นหา ในสิ่งแวดล้อมของตัวเอง และนำสิ่งที่ได้มานั้นใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป ด้านภาษา สร้างทักษะในการแสดงสิ่งที่ตัวเองทำ ที่ตัวเองคิด รวมถึงวิธีการแสดงความรู้สึกด้วยภาษาของตัวเอง ขณะเดียวกันสร้างทักษะในการฟังคำพูดของผู้อื่นด้วยความตั้งใจ ด้านการแสดงความรู้สึก สร้างทักษะในการรับรู้และแสดงความรู้สึกที่หลากหลายของตนเอง เพื่อทำให้เด็กมีความสร้างสรรค์ในการแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองได้
หัวใจหลักในการสอนและการดูแลเด็ก หัวใจสำคัญของแนวคิดในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กคือ“การสอนและการดูแลเด็กด้วยการสร้างสภาพแวดล้อม” เพราะการพัฒนาของเด็กในวัยนี้ทุกด้านจะเกิดขึ้นจากความสนใจต่อสภาพแวดล้อมของเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กนั้น แยกได้เป็น 3 แบบดังต่อไป 1.คน (เช่น ผู้ปกคร้อง ครู เพื่อน) 2.สิ่งแวดล้อมรอบตัว (เช่น สถานที่ ของเล่น) 3. สิ่งแวดล้อมภาพใหญ่ (เช่น ธรรมชาติ สภาพสังคม) สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เด็กมีความสนใจตามระดับพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น โดยครูมีบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำ และคอยดูแลให้เด็กคิดแก้ไขสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เป็นผู้สั่งการ
กิจวัตรประจำวัน
ศูนย์เด็ก
7.00 การสอนและการดูแลเด็กในช่วงเวลาพิเศษ
8.30 เด็กเข้าเรียน / กิจกรรมการเล่นอิสระ
9.00 ทานอาหารว่าง
9.30 กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การเดินเล่น การออกกำลังกาย และอื่น ๆ
11.30 อาหารกลางวัน
12.30 นอน
14.30 ตื่นนอน เปลี่ยนชุด
15.00 อาหารว่าง กิจกรรมการเล่นอิสระ
16.00 กล้บบ้าน
16.30 การสอนและการดูแลเด็กในช่วงเวลาพิเศษ
19.00 ปิดศูนย์ฯ
หมายเหตุ
การสอนและการดูแลเด็กในช่วงเวลาพิเศษ คือ การเปิดดูแลเด็กหลังเวลา 16.00 น. เนื่องจากมีความต้องการของผู้ปกครองที่ทำงานในช่วงเวลานั้น ไม่สามารถมารับเด็กได้
อนุบาล
8.30 เด็กเข้าเรียน
9.00 กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การเดินเล่น การออกกำลังกาย และอื่น ๆ
11.30 อาหารกลางวัน
12.30 กิจกรรมการเล่น
14.00 กลับบ้าน / การสอนและการดูแลเด็กในช่วงเวลาพิเศษ
17.00 ปิดศูนย์ฯ
หมายเหตุ
การสอนและการดูแลเด็กในช่วงเวลาพิเศษ คือ การเปิดดูแลเด็กหลังเวลา 14.00 น. เนื่องจากมีความต้องการของผู้ปกครองที่ทำงานในช่วงเวลานั้น ไม่สามารถมารับเด็กได้